พระเจ้าของฉัน คือ อัลลอฮ์

ัลลอฮ์ตรัสว่า: {มนุษย์เอ๋ย เจ้าจงแสดงการจงรักภักดีต่อพระเจ้าของเจ้า พระองค์ผู้ทรงสร้างพวกเจ้า และบรรดาผู้ที่มาก่อนพวกเจ้าเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะยำเกรง} [อัล-บะเกาะเราะฮ์: 21]

  • อัลลอฮ์ตรัสว่า: {พระองค์คืออัลลอฮ์ ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดอีกนอกจากพระองค์เท่านั้น} [อัลหัชร์:22]
  • อัลลอฮ์ตรัสว่า: {ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ และพระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น} [อัช-ชูรอ: 11]
  • ัลลอฮ์ คือ พระผู้อภิบาลของฉัน และเป็นพระผู้อภิบาลของทุกสรรพสิ่ง ผู้ทรงราชันย์ ผู้ทรงให้ปัจจัยยังชีพ และผู้ทรงจัดการทุกอย่าง
  • พระองค์ คือ ผู้ควรแก่การได้รับซึ่งการเคารพอิบาดะฮ์แต่เพียงผู้เดียว ไม่มีพระผู้ทรงอภิบาลนอกจากพระองค์ และไม่มีพระเจ้าที่ควรได้รับการเคารพอิบาดะฮ์นอกจากพระองค์
  • พระองค์ทรงมีพระนามอันทรงเกียรติและคุณลักษณะที่สูงส่ง ที่พระองค์ยืนยันด้วยพระองค์เอง และยืนยันโดยนบีมุฮัมหมัด ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ชึ่งได้บรรลุถึงที่สุดแห่งความสมบูรณ์และความงดงาม ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น

ส่วนหนึ่งจากพระนามของพระองค์ คือ

  • ผู้ทรงประทานปัจจัยยังชีพ
  • ผู้ทรงเมตตา
  • ผู้ทรงเดชานุภาพ
  • ผู้ทรงอภิสิทธิ์
  • ผู้ทรงได้ยิน
  • ผู้ทรงศานติ
  • ผู้ทรงเห็น
  • ผู้ทรงรับการมอบหมาย
  • ผู้ทรงสร้างสรรค์
  • ผู้ทรงอ่อนโยน
  • ผู้ทรงพอเพียง
  • ผู้ทรงให้อภัยโทษ
  • text here

* มุสลิมจะต้องคิดใคร่ครวญในความมหัศจรรย์แห่งการสร้างสรรค์ของอัลลอฮ์และการให้ความสะดวกสบายของพระองค์ และส่วนหนึ่งในความมหัศจรรย์นั้นคือการดูแลของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีต่อลูกตัวเล็กๆ ของพวกเขา ระมัดระวังในการให้อาหาร  และคอยประคับประคองมันจนมันสามารถพึ่งตัวเองได้  ดังนั้นมหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างสรรค์สิ่งเหล่านั้น ผู้ทรงอ่อนโยนต่อสิ่งนั้น และส่วนหนึ่งจากความอ่อนโยนของพระองค์ คือ ทรงจัดเตรียมสิ่งที่จะช่วยเหลือพวกเขา และที่เป็นประโยชน์แก่พวกเขา พร้อมกับความอ่อนแอของพวกเขา

พระเจ้าของฉัน คือ อัลลอฮ์

ผู้ทรงดูแลปัจจัยยังชีพของปวงบ่าว ซึ่งเป็นสิ่งค้ำจุนหัวใจและร่างกายของพวกเขา

ผู้ทรงมีความกรุณาปรานีอันกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งครอบคลุมเหนือทุกสิ่ง

พระองค์เป็นผู้ที่ทรงมีความสามารถอย่างสมบูรณ์ ที่ไม่มีความบกพร่องหรือความอ่อนแอไร้ความสามารถ

คือ ผู้ที่มีคุณสมบัติแห่งความยิ่งใหญ่ การควบคุม และการบริหารจัดการ ผู้ครอบครองทุกสรรพสิ่ง และผู้จัดการทุกประการ

ผู้ทรงได้ยินทุกการเปล่งเสียงทั้งค่อยและดัง

ผู้ทรงบริสุทธิ์จากทุกสิ่งที่แสดงถึงความบกพร่อง ความเสื่อมเสีย และตำหนิ

ผู้ทรงเห็นที่ครอบคลุมทุกๆ สิ่ง ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะละเอียดและเล็กมากก็ตาม ผู้ทรงรู้เห็นทุกสิ่ง ทรงรอบรู้ในสิ่งนั้น และทรงรู้เห็นสิ่งที่อยู่ภายในสิ่งนั้น

ผู้ทรงอุปการะดูแลปัจจัยยังชีพให้แก่สิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง และทรงรับผิดชอบพวกเขาเพื่อประโยชน์ต่างๆของพวกเขา และผู้ซึ่งปกครองบ่าวที่จงรักภักดีพระองค์ โดยให้เกิดความง่ายดายในการงานของพวกเขาและเป็นการงานที่เพียงพอสำหรับพวกเขา

ผู้ทรงบังเกิดสิ่งต่างๆ และผู้ทรงสร้างสิ่งใหม่ๆ โดยไม่ต้นแบบมาก่อน

ผู้ทรงให้เกียรติและเมตตาบ่าวของพระองค์ และประทานในสิ่งที่บ่าวร้องขอ

พระองค์คือทรงให้ความพอเพียงแก่ปวงบ่าวของพระองค์ในทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการ ซึ่งพอเพียงด้วยความช่วยเหลือจากพระองค์แต่เพียงผู้เดียวปราศจากผู้อื่นใด และเพียงพอกับพระองค์โดยไม่ต้องพึงผู้ใดอื่นจากพระองค์อีก

พระองค์คือผู้ทรงปกป้องบ่าวของพระองค์จากความชั่วร้ายที่เกิดขึ้นจากบาปของพวกเขา และไม่ทรงลงโทษพวกเขาจากการทำบาปดังกล่าว

นบีของฉันคือ มุฮัมมัด -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม-

อัลลอฮ์ตรัสว่า:
{แท้จริงมีศาสนทูตท่านหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยในพวกท่าน เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาปรานีต่อบรรดาผู้ศรัทธา} [อัตเตาบะฮ์: 128] 

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย} [อัล-อันบิยาอ์: 107]

มุฮัมมัด -ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เป็นผู้เมตตาและผู้ชี้ทางนำ

ท่านคือ มุฮัมหมัด บิน อับดุลลอฮ์ -ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เป็น ศาสนทูตคนสุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาด้วยศาสนาอิสลามมายังมวลมนุษย์ทั้งปวง เพื่อชี้นำพวกเขาสู่ความดี และที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การเตาฮีด (ศรัทธาในความเป็นเอกภาพของอัลลฮฮ์) และห้ามปรามความชั่ว ซึ่งที่เลวร้ายที่สุด คือ ชีริก (การตั้งภาคีกับอัลลอฮ์) วาญิบปฏิบัติตามท่านในสิ่งที่ท่านสั่งและเชื่อมั่นในสิ่งที่ท่านบอก และออกห่างจากสิ่งที่ท่านห้ามปราม และห้ามปฏิบัติศาสนากิจเว้นแต่ในสิ่งที่ท่านบัญญัติเท่านั้น

สาส์นของมุฮัมมัดและสาส์นของศาสนทูตทั้งหมดก่อนหน้านี้นั้นล้วนเป็นการเชิญชวนสู่การจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์เพียงพระองค์เดียว โดยไม่ตั้งภาคีกับพระองค์

ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะของท่านนะบี -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- คือ

่ ่่อสัตย์ เมตตา อ่อนโยน อดทน กล้าหาญ ใจบุญ มารยาทงาม ยุติธรรม ถ่อมตน และอภัย

 

 

อัลกุรอาน คือ ดำรัสของพระเจ้าของฉัน

อัลลอฮ์ตรัสว่า:
{มนุษยชาติทั้งหลาย แน่นอนได้มีหลักฐานจากพระเจ้าของพวกเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว และเราได้ให้แสงสว่างอันแจ่มแจ้งลงมาแก่พวกเจ้าด้วย} [อันนิสาอ์: 174]

อัลกุรอาน คือ ดำรัสของอัลลอฮ์ที่พระองค์ทรงประทานให้แก่นบีมุฮัมหมัด -ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เพื่อนำพามวลมนุษย์ออกจากความมืดมนสู่รัศมี และนำทางสู่หนทางที่เที่ยงตรง
ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานเขาจะได้รับผลบุญอันใหญ่หลวง ผู้ใดปฏิบัติตามแนวทางของอัลกุรอานเขาได้เดินบนเส้นทางที่เที่ยงตรง

ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการของอิสลาม

่านนบี -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวว่า
“ศาสนาอิสลามถูกวางอยู่บนหลัก 5 ประการ คือ หนึ่ง การปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าที่ต้องเคารพภักดีโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และมุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ สอง ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด สาม จ่ายซะกาต สี่ การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และห้า การทำหัจญ์ ณ บัยตุ้ลลอฮ์”

หลักการของอิสลามคือการปฏิบัติศาสนกิจที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ และความเป็นอิสลามของคนใดคนหนึ่งจะไม่ถูกต้อง นอกจากด้วยการเชื่อมั่นว่า หลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่วาญิบและต้องนำมาสู่การปฏิบัติทุกประการ เพราะศาสนาอิสลามนั้นถูกวางอยู่บนหลักการดังกล่าว จึงได้ชื่อว่า หลักการของอิสลาม.

และหลักห้าประการนี้ มีดังนี้

ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการของอิสลาม

หลักข้อที่หนึ่ง

ปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และนบีมุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {ฉะนั้นพึงรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด (ที่ต้องกราบไหว้โดยเที่ยงแท้) นอกจากอัลลอฮ์} [มุฮัมหมัด:19]

ัลลอฮ์ตรัสว่า: {แท้จริงได้มีศาสนทูตท่านหนึ่งจากพวกท่านเองได้มาหาพวกท่านแล้ว เป็นที่ลำบากใจแก่เขาในสิ่งที่พวกท่านได้รับความทุกข์ยาก เป็นผู้ห่วงใยในพวกท่าน เป็นผู้เมตตา ผู้กรุณาปรานีต่อบรรดาผู้ศรัทธา} [อัตเตาบะฮ์:128]

  • ความหมายของการปฎิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ คือ ไม่มีผู้ใดที่ควรแก่การอิบาดะฮ์ (การเคารพสักการะตามศาสนบัญญัติ) เว้นแต่พระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น
  • ความหมายของการปฏิญาณตนว่า มุฮัมหมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์ คือ ปฏิบัติตามในสิ่งที่ท่านสั่ง เชื่อในสิ่งที่ท่านบอกกล่าว ออกห่างจากสิ่งท่านสั่งห้าม และไม่มีการเคารพสักการะต่ออัลลอฮ์ นอกจากสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้เท่านั้น

 

หลักข้อที่สอง

ดำรงการละหมาด

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {และพวกเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด}  [อัลบากอเราะฮ์:110]

  • การดำรงไว้ซึ่งการละหมาดนั้น ต้องกระทำมันตามที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติและตามที่ท่านนบีมุหัมมัด -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ศาสนทูตของพระองค์ได้สอนไว้

 

 

หลักข้อที่สาม

่ายซะกาต (บริจาคทานภาคบังคับ)

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {และพวกเจ้าจงจ่ายซะกาต} [อัลบากอเราะฮ์:110]

  • อัลลอฮ์ได้กำหนดให้จ่ายซะกาตเพื่อทดสอบถึงความสัตย์จริงต่อการศรัทธาของมุสลิม เพื่อเป็นการแสดงการขอบคุณต่อพระเจ้า ที่พระองค์ทรงประทานปัจจัยที่เป็นทรัพย์สินมา และเพื่อเป็นการช่วยเหลือแก่คนยากจนและผู้ที่มีปัญหาทางการเงิน
  • ซะกาต เป็นหน้าที่ภาคบังคับที่เกี่ยวกับทรัพสินที่ต้องจ่ายเมื่อครบจำนวนที่ศาสนากำหนดไว้ โดยให้กับบุคคลแปดจำพวก ที่อัลลอฮ์ทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอาน ส่วนหนึ่งในนั้นคือ คนยากจนและคนขัดสน
  • และในการจ่ายซะกาตนั้น เป็นการแสดงถึงความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจกัน และเป็นการชำระศีลธรรมและความมั่งคั่งของมุสลิมให้บริสุทธิ์ และเป็นการเอาใจใส่ความรู้สึกของคนยากจนและขัดสน เป็นการสร้างความรักและมิตรภาพให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นระหว่างมุสลิมผู้อยู่ร่วมสังคมเดียวกัน ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น มุสลิมที่ดีจะมอบสิ่งที่ดีที่ตัวเองมีและมีความสุขกับมันให้แก่ผู้อื่นเพื่อสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับผู้อื่นด้วย
  • และอัตราการจ่ายซะกาตทรัพยสินคือ 2.5% จากทรัพย์สินที่ได้เก็บออมไว้ที่เป็นทองคำ เงิน ธนบัตร และสินค้าเพื่อการค้าที่จะนำไปทำการซื้อขายเพื่อให้ได้มาซึ่งกำไร เมื่อมีทรัพย์สินตามจำนวนที่กำหนดไว้และครบรอบหนึ่งปี
  • และเช่นเดียวกัน จำเป็นต้องจ่ายซะกาต สิ่งที่ได้มาจากดิน ที่เป็นธัญพืช ผลไม้ แร่ธาตุ และอื่นๆ เมื่อถึงพิกัดที่กำหนดไว้

 

 

หลักข้อที่สี่

ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {โอ้บรรดาผู้ศรัทธา การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าดังที่ได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เพื่อพวกเจ้าจะได้ยำเกรง} [อัลบากอเราะฮ์:110]

  • รอมฎอน คือ เดือนที่เก้าตามปฏิทินฮิจเราะฮ์ศักราช ซึ่งเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่สำหรับชาวมุสลิมและเป็นเดือนพิเศษกว่าเดือนอื่นๆ และการถือศีลอดทั้งเดือนของเดือนรอมฎอนเป็นหนึ่งในห้าของหลักการของศาสนาอิสลา
  • การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน คือการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ด้วยการอดอาหาร เครื่องดื่ม การร่วมประเวณี และทุกสิ่งที่จะทำให้เสียการถือศีลอด ตั้งแต่แสงอรุณขึ้นจนตะวันลับขอบฟ้าตลอดทั้งวันในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐ

 

หลักข้อที่ห้า

การทำฮัจญ์

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {และสิทธิของอัลลอฮ์ที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น (เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์) อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้} [อาละอิมรอน: 97]

  • การทำฮัจญ์จำเป็นสำหรับผู้ที่มีความสามารถเดินทาง ครั้งเดียวในชีวิต คือ การเดินทางไปยังมัสยิดอัลหะรอมและสถานที่ต่างๆ อันทรงเกียรติที่มักกะฮ์ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ที่เจาะจงไว้ ณ เวลาที่เจาะจงไว้ ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เคยประกอบพิธีฮัจญ์เสมือนบรรดานบีก่อนๆ อัลลอฮ์ได้ทรงสั่งใช้ให้นะบีอิบรอฮีม ป่าวประกาศแก่มวลมนุษย์สู่การทำฮัจญ์ ดังที่พระองค์ทรงตรัสในอัลกุรอานไว้ว่า {และจงประกาศแก่มนุษย์ทั่วไปเพื่อการทำฮัจญ์ พวกเขาจะมาหาเจ้าโดยทางเท้า และโดยทางอูฐเพรียวทุกตัว จะมาจากทางไกลทุกทิศทาง} [อัล-ฮัจญ์: 27]

 

ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการศรัทธา

ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัมลัม- ถูกถามเรื่องการศรัทธา ท่านจึงตอบว่า: “คือการที่ท่านศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ศรัทธาต่อมะลาอิกะฮ์ของพระองค์ ศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ และศรัทธาต่อกฎสภาวะการณ์ทั้งดีและร้าย”

หลักการศรัทธา คือ การปฏิบัติศาสนกิจด้วยจิตใจที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ และการนับถือศาสนาอิสลามของคนใดคนหนึ่งจะไม่ถูกต้อง นอกจากด้วยการยึดมั่นต่อหลักการนี้ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า หลักการศรัทธา ความแตกต่างระหว่างหลักการศรัทธากับหลักการอิสลาม คือ หลักการอิสลามคือการปฏิบัติด้วยกายภายนอกของมนุษย์ เช่น การปฏิญาณตน การละหมาด การจ่ายซะกาต ส่วนหลักการศรัทธา คือ การปฎิบัติด้วยจิตใจของมนุษย์ เช่น การศรัทธาต่ออัลลอฮ์ ศรัทธาต่อคัมภีร์ของพระองค์ ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์

นิยามและความหมายของการศรัทธา
คือ เชื่อมั่นด้วยจิตใจที่มั่นคงต่ออัลลอฮ์ ต่อมลาอิกะฮ์ของพระองค์ ต่อคัมภีร์ของพระองค์ ต่อศาสนทูตของพระองค์ ต่อวันปรโลก และต่อกฎกำหนดสภาวะการณ์ทั้งดีและไม่ดี, และเชื่อฟังทุกสิ่งที่ท่าน เราะสูล -ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- ได้นำและปฏิบัติ ด้วยการกล่าวด้วยวาจา เช่น การกล่าว ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์) อ่านอัลกุรอาน กล่าวตัซบีห์ (ซุบฮานัลลอฮ์) กล่าวตะฮ์ลีล (ลาอีลาฮะอิลลัลลอฮ์) และกล่าวสรรเสริญอัลลอฮ์
และปฏิบัติด้วยการกระทำของร่างกาย เช่น การละหมาด การประกอบพิธีฮัจญ์ การถือศีลอด...และปฎิบัติด้วยการกระทำอวัยวะภายในที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ เช่น การรักต่ออัลลอฮ์ การเกรงกลัวพระองค์ การมอบหมายต่อพระองค์ และการบริสุทธิ์ใจเพื่อพระองค์
ผู้เชี่ยวชาญได้ให้นิยามของการศรัทธาอย่างกระชับ คือ การยึดมั่นด้วยใจ เปล่งออกมาด้วยวาจา และปฏิบัติด้วยกาย ระดับความศรัทธาจะเพิ่มขึ้นด้วยการเชื่อฟัง และจะลดลงด้วยการฝ่าฝืน

ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการศรัทธา

หลักข้อที่หนึ่ง

ศรัทธาต่ออัลลอฮ์

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาที่แท้จริง นั้นคือ ผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์}  [อันนูร: 62]

  • การศรัทธาต่ออัลลอฮ์นั้นคือการศรัทธาในความเป็นเอกะของพระองค์ในด้านการเป็นพระผู้อภิบาล ด้านการเป็นพระเจ้าที่ควรแก่การเคารพอิบาดะฮ์ และศรัทธาในพระนามและคุณลักษณะของพระองค์ ดังนี้

    •  ศรัทธาต่อการมีอยู่จริงของอัลลอฮ์ผู้ทรงบริสุทธิ์และสูงส่ง

    •  ศรัทธาต่อรุบูบิยะฮ์ของพระองค์ คือ พระองค์ทรงเป็นเจ้ากรรมสิทธิเหนือทุกสิ่ง ทรงเป็นผู้สร้าง ทรงเป็นผู้มอบปัจจัยยังชีพและผู้บริหารทุกสรรพสิ่ง

    •  ศรัทธาต่ออุลูฮิยะฮ์ของพระองค์ คือ พระองค์คือพระเจ้าที่ควรแก่การเคารพสักการะเพียงผู้เดียว โดยปราศจากการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ เช่นการละหมาด    การขอวิงวอน การบนบาน การเชือด การขอความช่วยเหลือ การขอความคุ้มครอง และทุกสิ่งที่เป็นการปฏิบัติศาสนกิจ

    •  ศรัทธาต่อพระนามของอัลลอฮ์ที่งดงามและคุณลักษณะของพระองค์ที่สูงส่ง ซึ่งเป็นพระนามและคุณลักษณะที่พระองค์ได้ยืนยันด้วยพระองค์เอง และยืนยันโดยศาสนทูตมุฮัมหมัด -ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- และปฏิเสธนามและคุณลักษณะที่พระองค์ปฏิเสธต่อตนเอง หรือศาสนทูตของพระองค์ปฏิเสธ โดยพระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮ์มีความสมบูรณ์และงดงามที่สุด ไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินและมองเห็น

หลักข้อที่สอง

ศรัทธาต่อมะลาอิกะฮ์ (เทวทูต)

ศรัทธาต่อมะลาอิกะฮ์ (เทวทูต): {มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน ผู้ทรงแต่งตั้งมลาอิกะฮ์ให้เป็นผู้นำข่าว ผู้มีปีกสอง สาม และสี่ ทรงเพิ่มในการสร้างตามที่พระองค์ทรงประสงค์ แท้จริง อัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่ง} [ฟาฏิร: 1]

  • มลาอิกะฮ์เป็นสิ่งที่ถูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ มีพละกำลังและจำนวนที่อัลลอฮ์เท่านั้นทรงรอบรู้ และแต่ละท่านในบรรดามลาอิกะฮ์นั้นจะมีคุณลักษณะ ชื่อ และภารกิจที่เฉพาะตามที่อัลลอฮ์ได้กำหนดไว้คุณลักษณะ พระนามและภารกิจ ในจำนวนนั้น คือ ญิบรีล ซึ่งได้รับมอบหมายนำวะฮ์ยู (สาส์น) จากอัลลอฮ์นำไปส่งให้ศาสนทูตของพระองค์
  • มลาอิกะฮ์เป็นสิ่งที่ถูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ มีพละกำลังและจำนวนที่อัลลอฮ์เท่านั้นทรงรอบรู้ และแต่ละท่านในบรรดามลาอิกะฮ์นั้นจะมีคุณลักษณะ ชื่อ และภารกิจที่เฉพาะตามที่อัลลอฮ์ได้กำหนดไว้ ในจำนวนนั้น คือ ญิบรีล ซึ่งได้รับมอบหมายนำวะฮ์ยู (สาส์น) จากอัลลอฮ์นำไปส่งให้ศาสนทูตของพระองค์

 

หลักข้อที่สาม

ศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {พวกท่านจงกล่าวเถิด เราได้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์ และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่เรา และสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่อิบรอฮีม และอิสมาอีล และอิสฮาก และยะอ์กูบ และบรรดาวงศ์วานเหล่านั้น และสิ่งที่มูซา และอีซาได้รับ และสิ่งที่บรรดานบีได้รับจากพระเจ้าของพวกเขา พวกเรามิได้แบ่งแยกระหว่างท่านหนึ่งท่านใดจากเขาเหล่านั้น และพวกเราจะเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์เท่านั้น} [ัล-บะเกาะเราะฮ์: 136]

  • เชื่อมันอย่างหนักแน่นว่า คัมภีร์จากฟากฟ้าทุกเล่มเป็นดำรัสของอัลลอฮ์
  • และคัมภีร์ดังกล่าวเป็นคำภีร์ที่ถูกประทานจากอัลลอฮ์ไปสูู่ศาสนทูตของพระองค์เพื่อนำสัจธรรมอันเที่ยงธรรมไปยังบ่าวของพระองค์
  • และอัลลอฮ์ได้ส่งนบีมุฮัมมัด ศาสนทูตของพระองค์ ไปยังมวลมนุษย์ทั้งหลาย ซึ่งบทบัญญัติที่ส่งมายังนบีมุฮัมมัดนั้นได้ยกเลิกบทบัญญัติก่อนหน้านั้น และได้ทำให้คัมภีร์อัลกุรอานได้มีอำนาจเหนือคัมภีร์แห่งฟากฟ้าทั้งหลาย และทำให้บรรดาคัมภีร์ดังกล่าวเป็นโมฆะ และอัลลอฮ์ทรงประกันในการรักษาคัมภีร์อัลกุรอานจากการเปลี่ยนแปลงหรือบิดเบือน พระองค์ตรัสว่า: {แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน} [อัล-ฮิจร์: 9] เนื่องจากอัลกุรอานเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายจากอัลลอฮ์สู่มวลมนุษย์ และนบีมุฮัมหมัด -ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เป็นศาสนทูตของพระองค์ท่านสุดท้าย ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่อัลลอฮ์พึงพอพระทัยแก่มวลมนุษย์จนกระทั่งวันสิ้นโลก พระองค์ตรัสว่า: {แท้จริงศาสนา ณ อัลลอฮ์ นั้นคือ อัลอิสลาม} [อาละอิมรอน: 19]

และคัมภีร์แห่งฟากฟ้าที่อัลลอฮ์ทรงระบุไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ ได้แก่

  • 1 คัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ์ประทานให้แก่นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮ์อะลัยฮิวะสัลลัม
  • 2 คัมภีร์อ้ตเตารอต (โทราห์) อัลลอฮ์ประทานให้แก่นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม
  • 3 คัมภีร์อัลอินญีล (ใบเบิ้ล) อัลลอฮ์ประทานให้แก่นบีอีซา อะลัยฮิสสลาม
  • 4 คัมภีร์อัซซาบูร อัลลอฮ์ประทานให้แก่นบีดาวูด อะลัยฮิสสลาม
  • 5 คัมภีร์อิบรอฮีม อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่นบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม

 

หลักข้อที่สี่

ศรัทธาต่อบรรดาศาสนทูต

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {และโดยแท้จริงแล้ว เราได้ส่งศาสนทูตมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาให้พวกเขาเรียกร้องว่า) พวกท่านจงเคารพภักดีอัลลอฮ์ และจงหลีกห่างจากพวกเจว็ดต่างๆ} [อัน-นะห์ลฺ: 36]

  • เชื่อมั่นอย่างหนักแน่นว่า อัลลอฮ์ได้ส่งศาสนทูตของพระองค์มายังประชาชาติทุกยุคทุกสมัย เพื่อเรียกร้องสู่การจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ไม่ตั้งภาคีกับพระองค์ และเรียกร้องให้ปฏิเสธสิ่งที่กราบไหว้บูชานอกเหนือจากพระองค์
  • และศาสนาทูตของพระองค์ล้วนเป็นมนุษย์ที่เป็นชายที่เป็นบ่าวของพระองค์ พวกเขาเป็นคนซื่อสัตย์ ได้รับความไว้วางใจ ยำเกรงและซื่อสัตย์ เป็นผู้เชิญชวนสู่เส้นทางที่ถูกต้อง ผู้ได้รับทางนำ อัลลอฮ์ให้การสนับสนุนศาสนทูตของพระองค์ด้วยสิ่งมหัศจรรย์ที่เหนือธรรมชาติ (มุอ์ญิซาต) เพื่อเป็นการยืนยันถึงความสัจจริงของพวกเขา ซึ่งพวกเขาได้เผยแพร่ทุกประการที่อัลลอฮ์ส่งมายังพวกเขา พวกเขาทั้งหมดล้วนอยู่บนหนทางสัจธรรมที่ชัดแจ้งและทางนำที่ชัดเจน
  • การเผยแพร่ของพวกเขามีความสอดคล้องกันในเรื่องรากฐานของศาสนาตั้งแต่คนแรกถึงคนสุดท้าย นั้นคือ การศรัทธาความเป็นเอกภาพของอัลลอฮ์ในการปฏิบัติศาสนกิจ (อิบาดะฮ์) และไม่ตั้งภาคีกับพระองค์

 

หลักข้อที่ห้า

หลักข้อที่ห้า การศรัทธาต่อวันอาคิเราะฮ์(ชีวิตหลังความตาย)

อัลลอฮ์ตรัสว่า : {อัลลอฮ์นั้นคือไม่มีผู้ใดที่ได้รับการเคารพสักการะโดยเที่ยงแท้ นอกจากพระองค์เท่านั้น แน่นอน พระองค์จะทรงรวบรวมพวกเจ้าทั้งหลายสู่วันกิยามะฮ์ ซึ่งไม่มีการสงสัยใดๆ ในวันนั้น และใครเล่าที่จะมีคำพูดจริงยิ่งกว่าอัลลอฮ์} [อัน-นิซาอ์ :87]

  • เชื่อมั่นอย่างหนักแน่นว่าทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับวันอาคิเราะฮ์ดังที่พระเจ้าของเราได้กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน หรือในวจนะของนบีมุฮัมหมัด -ศ็อลล็อลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- เช่น การตายของมนุษย์ การฟื้นคืนชีพ การขอความช่วยเหลือด้วยสิทธิพิเศษ การชั่ง การคิดบัญชี นรก สวรรค์ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวันอาคิเราะฮ์

 

หลักข้อที่หก

ศรัทธาต่อกฎสภาวการณ์ทั้งดีและไม่ดี

ัลลอฮ์ตรัสว่า: {แท้จริงทุกๆ สิ่งนั้นเราสร้างมันตามสัดส่วน} [อัลกอมัร: 49]

  • เชื่อมั่นว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ มันเกิดขึ้นด้วยความรอบรู้ของอัลลอฮ์และการกำหนดการณ์ของพระองค์และภายใต้การบริหารจัดการของพระองค์เพียงพระองค์เดียว ปราศจากภาคีใดๆ ซึ่งกฎสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถูกกำหนดไว้ก่อนที่จะสร้างมนุษย์ ซึ่งมนุษย์นั้นมีความต้องการและความปรารถนา มนุษย์จะเป็นผู้กระทำการต่างๆ ให้เกิดขึ้นจริง แต่ทั้งหมดนั้นไม่พ้นจากความรอบรู้ของอัลลอฮ์และความประสงค์ของพระองค์

การศรัทธาต่อกฎสภาวการณ์มี 4 ระดับ คือ

 

  • ระดับแรกศรัทธาในความรอบรู้ของอัลลอฮ์ทึ่สมบูรณ์และครอบคลุม
  • ระดับที่สองศรัทธาต่อการบันทึกของอัลลอฮ์สำหรับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจนถึงวันอาคิเราะฮ์
  • ระดับที่สามระดับที่สาม: ศรัทธาต่อความประสงค์ของอัลลอฮ์และความสามารถที่สมบูรณ์ของพระองค์
  •                      สิ่งใดที่พระองค์ทรงประสงค์สิ่งนั้นจะเกิดขึ้น และสิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงประสงค์สิ่งนั้นจะไม่เกิดขึ้น
  • ระดับที่สี่ศรัทธาว่าอัลลอฮ์เป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง ปราศจากภาคีใดๆ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างของพระองค์

 

ฉันเรียนรู้เรื่องการอาบน้ำละหมาด

ลลอฮ์ตรัสว่า: {แท้จริงอัลลอฮ์ทรงชอบบรรดาผู้สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว และทรงชอบบรรดาผู้ที่ทำตนให้สะอาด} [อัลบากอเราะฮ์: 222]

ท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: “ผู้ใดอาบน้ำละหมาดเหมือนการอาบน้ำละหมาดนี้ แล้วละหมาดสองรอกอะฮ์โดยไม่มีการสนทนาใดภายในตัวเขาในสองร็อกอะฮ์นั้น ความผิดบาปในอดีตของเขาจะได้รับการอภัยโทษ”.

สิ่งหนึ่งที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของการละหมาด คืออัลลอฮ์ได้บัญญัติเรื่องความสะอาดก่อนทำการละหมาด และกำหนดให้ความสะอาดเป็นเงื่อนไขการละหมาดที่ถูกต้อง และเป็นกุญแจของการละหมาด จึงทำให้รู้สึกถึงความประเสริฐของมัน ทำให้หัวใจมีความปรารถนาที่จะทำการละหมาด

ท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวว่า: “ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา...และการละหมาดเป็นรัศมี”

และท่านนบี -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวว่า: “ผู้ใดที่อาบน้ำละหมาด แล้วเขาได้ทำการอาบน้ำละหมาดเป็นอย่างดี ความผิดต่างๆ ของเขาจะหลุดออกไปจากร่างกายของเขา”

ดังนั้นผู้เป็นบ่าวจึงแสดงตนต่อพระเจ้าของเขาในสภาพที่สะอาดทั้งภายนอกด้วยการอาบน้ำละหมาด และภายในด้วยการทำการละหมาด ด้วยความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ และปฏิบัติตามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยอิวะสัลลัม

งที่จำเป็นต้องมีน้ำละหมาด

  • 1 การละหมาดทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการละหมาดฟัรฎูหรือการละหมาดสุนนะฮ์
  • 2 การฏอวาฟ (เดินเวียน) รอบกะอ์บะฮ์
  • 3 การสัมผัสกับคัมภีร์อัลกุรอาน
  • ฉันทำการอาบน้ำละหมาดและชำระร่างกายด้วยน้ำที่สะอาด
  • น้ำสะอาด คือ น้ำที่ลงมาจากฟ้า หรือ ตาน้ำจากใต้ดิน ซึ่งคงอยู่ในลักษณะดั้งเดิม ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ประการต้องไม่เปลี่ยนแปลง คือ สี รส และกลิ่น จากสิ่งแปลกปลอมที่ไปเปลี่ยนแปลงน้ำสะอาดนั้น

ฉันเรียนรู้เรื่องการอาบน้ำละหมาด

อันนียะฮ์ (การตั้งเจตนา)
ด้วยใจ ความหมายของการนียะฮ์ คือ เจตนาอย่างแน่วแน่ที่จะกระทำการอิบาดะฮ์ (ปฎิบัติศาสนกิจ) เพื่อใกล้ชิดอัลลอฮ์

ล้างมือทั้งสองข้าง

บ้วนปาก
การบ้วนปาก คือ การเอาน้ำเข้าปาก แล้วกลั้วน้ำให้ทั่วปาก และบ้วนน้ำออก

สูดน้ำเข้าจมูก
สการสูดน้ำเข้าจมูก คือ การสูดน้ำเข้าโพร่งจมูกให้ได้ลึกที่สุด
สัการสั่งน้ำออกจากจมูก คือ การสั่งน้ำในโพร่งจมูกที่สูดเข้าไปให้ออกมา

คือ ล้างหน้า
ขอบเขตของใบหน้า
คำว่าหน้า คือ ด้านหน้าของใบหน้า
ขอบเขตความกว้างของใบหน้า คือ จากหูข้างหนึ่งไปถึงหูอีกข้างหนึ่ง
ขอบเขตความยาวของใบหน้า คือ นับจากด้านบนที่จุดผมเริ่มงอกของคนปกติลงมาถึงท้ายสุดของคาง
การล้างใบหน้า ต้องรวมถึงขนบนใบหน้า ชายผม และติ่งหู
และบริเวณสีขาว คือ บริเวณระหว่างจอนผมถึงติ่งหู
จอนผม หมายถึง ขนที่อยู่บนกระดูกหูซึ่งคุ่ขนานกับใบหู โค้งมนไปในศรีษะที่มีลักษณะเหมือนหู

และเช่นเดียวกัน การล้างใบหน้านั้น จะรวมถึงเคราและขนที่งอกมาบริเวณดังกล่าว

ล้างมือ เริ่มจากปลายนิ้วมือทั้งสองข้างถึงข้อศอกของทั้งสองข้าง
และจำเป็นต้องล้างข้อศอกทั้งสองข้างไปพร้อมการล้างมือ

ลูบศีรษะด้วยสองมือพร้อมหูทั้งสองข้าง หนึ่งครั้ง
เริ่มลูบด้วยสองมือจากด้านหน้าของศีรษะไปยังด้านหลังแล้ววกกลับมาด้านหน้าอีกครั้ง
พร้อมกับเอานิ้วชี้แหย่เข้าในหูทั้งสองข้าง
และนำนิ้วโป้งไว้ด้านหลังใบหู แล้วทำการลูบด้านหน้าและหลังใบหู

ล้างเท้าตั้งแต่นิ้วเท้าทั้งสองจนถึงตาตุ่ม และจำเป็นจะต้องล้างตาตุ่มทั้งสองเข้ารวมกับการล้างเท้า.
ตาตุ่ม คือ อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมๆ ที่ข้อเท้า

สิ่งที่จะทำให้เสียน้ำละหมาด มีดังนี้ 

  • 1 มีสิ่งออกจากทวารทั้งสอง เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ การผายลม มะนีย์ (อสุจิ) มะซีย์ (น้ำเหนียวๆ) เป็นต้น
  • 2 หมดสติ ด้วยการหลับลึก หรือ เป็นลม หรือเมา หรือบ้า
  • 3 สิ่งที่วาญิบ (จำเป็น) ที่จะต้องอาบน้ำ (ยกหะดัษใหญ่) เช่น การมีเพศสัมพันธ์ มีประจำเดือน และเลือดหลังคลอดบุตร

เมื่อมนุษย์ได้ปลดทุกข์แล้ว จำเป็นที่จะต้องชำระล้างสิ่งสกปรก ด้วยน้ำสะอาดซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุด หรืออาจจะชำระด้วยสิ่งอื่นที่มิใช่น้ำ เช่น หิน กระดาษ และผ้า เป็นต้น โดยทำการเช็ดทำความสะอาด 3 ครั้งขึ้นไปกับสิ่งที่สะอาดซึ่งเป็นที่อนุญาตให้ทำความสะอาดได้

การเช็ดรองเท้าคุฟฟ์และถุงเท้า

ในกรณีที่มีการสวมใส่รองเท้าหนังที่ปกปิดตาตุ่มหรือถุงเท้า สามารถทำการลูบบนรองเท้าและถุงเท้าโดยไม่จำเป็นต้องล้างเท้าทั้งสองข้าง โดยมีเงื่อนไข ดังนี้

  • 1 การสวมใส่รองเท้าและถุงเท้าภายหลังจากทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์ทั้งหะดัษเล็กและหะดัษใหญ่ และได้ล้างเท้าด้วยแล้ว
  • 2 รองเท้าหรือถุงเท้าจะต้องสะอาดปราศจากสิ่งสกปรก (นะญิส)
  • 3 การลูบรองเท้าหรือถุงเท้าอยู่ในเวลาที่กำหนด
  • 4 รองเท้าหรือถุงเท้าจะต้องเป็นสิ่งที่ฮาลาล เช่น มิใช่ของขโมยหรือแย่งชิงของคนอื่นมา
  • รองเท้าคุฟ หมายถึง สิ่งที่สวมใส่ที่เท้าผลิตจากหนัง หรือจากสิ่งอื่น และเช่นดังรองเท้าคุฟ คือรองเท้าทั่วไปที่สวมใส่ปกปิดเท้า
  • ถุงเท้า หมายถึง สิ่งที่สวมใส่ที่เท้าที่ผลิตจากผ้าหรือจากสิ่งอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักด้วยคำว่า ถุงเท้า

การเช็ดรองเท้าคุฟฟ์และถุงเท้า

วิทยปัญญาในการบัญญัติให้มีการลูบบนรองเท้า

วิทยปัญญาของการลูบบนรองเท้า คือ เพื่อให้เกิดความสะดวกและผ่อนปรนแก่มุสลิมที่มีความลำบากที่จะต้องถอดรองเท้าหรือถุงเท้าเพื่อทำความสะอาดเท้า โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาว ช่วงอากาศหนาวมาก และช่วงเดินทาง

ระยะเวลาสำหรับการลูบบนรองเท้า

สำหรับผู้ที่พำนักอยู่กับที่ มีระยะเวลา 1 วัน กับ 1 คืน (24 ชั่วโมง)

สำหรับผู้ที่เดินทาง มีระยะเวลา 3 วัน 3 คืน (72 ชั่วโมง)

เริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่การลูบบนรองเท้าหรือถุงเท้าครั้งแรกภายหลังจากชำระทำความสะอาดจากหะดัษเรียบร้อยแล้ว

ลักษณะของการลูบบนรองเท้าหรือถุงเท้า มีดังนี้

  • 1 ให้มือเปียกน้ำ
  • 2 ลูบมือบนเท้า (จากนิ้วเท้าขึ้นไปยังขา)
  • 3 ลูบเท้าขวาด้วยมือขวา และเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย  

สิ่งที่ทำให้เป็นโมฆะ

  • 1 มีสิ่งที่จำเป็นจะต้องอาบน้ำ
  • 2 สิ้นสุดระยะเวลาของการลูบบนรองเท้า

การอาบน้ำชำระร่างกาย

เมื่อผู้ชายหรือผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์ หรือมีการหลั่งอสุจิออกมาด้วยอารมณ์ในขณะที่ยังตื่นอยู่หรือนอนหลับ จำเป็น (วาญิบ) ที่จะต้องอาบน้ำชำระร่างกาย เพื่อที่จะสามารถทำการละหมาดได้ หรือทำในสิ่งที่จำเป็นต้องมีน้ำละหมาด และในทำนองเดียวกัน หากผู้หญิง เมื่อสิ้นสุดจากการมีประจำเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตร จำเป็น (วาญิบ) ที่จะต้องอาบน้ำชำระร่างกาย เพื่อที่จะสามารถทำการละหมาดได้หรือทำในสิ่งที่จำเป็นต้องมีน้ำละหมาด 

การอาบน้ำชำระร่างกาย

ลักษณะของการอาบน้ำชำระร่างกาย

การทำให้ร่างกายเปียกน้ำให้ทั่วร่างด้วยวิธีใดก็ตาม รวมทั้งการบ้วนปากและสูดน้ำล้างโพรงจมูก เมื่อได้ทำให้ร่างกายเปียกน้ำทั่วร่างแล้ว การยกหะดัษใหญ่นั้นก็ได้รับการชำระ และความสะอาดสำหรับเขาได้เสร็จสมบูรณ์

ข้อห้ามสำหรับผู้ที่อยู่ในหะดัษใหญ่ จนกว่าจะอาบน้ำชำระร่างกาย มีดังนี้

  • 1 การละหมาด
  • 2 การฏอวาฟ (เดินเวียน) รอบกะอ์บะฮ์
  • 3  การอยู่ในมัสยิด อนุญาตให้เดินผ่านเท่านั้นโดยไม่เข้าไปอยู่ด้านใน
  • 4 การสัมผัสอัลกุรอาน
  • 5 อ่านอัลกุรอาน

การทำตะยัมมุม

หากไม่มีน้ำสำหรับทำความสะอาด หรือ ไม่สามารถใช้น้ำได้ เนื่องจากป่วย เป็นต้น และกลัวว่า จะไม่ทันละหมาด ก็สามารถทำการตะยัมมุมด้วยดินฝุ่นได้

การทำตะยัมมุม

วิธีการทำตะยัมมุมนั้นคือ ใช้ฝ่ามือทั้งสองตีดินหนึ่งครั้ง แล้วเอาฝ่ามือทั้งสองเช็ดใบหน้าและข้อมือทั้งสอง และมีเงื่อนไขคือต้องเป็นดินที่สะอาด

สิ่งที่จะทำให้เสียตะยัมมุม มีดังนี้

  • 1 ตะยัมมุมจะเสียเช่นเดียวกับสิ่งที่ทำให้เสียน้ำละหมาด
  • 2 เมื่อมีการพบน้ำขึ้นมา หรือมีความสามารถในการใช้น้ำ ก่อนที่อิบาดะฮ์ที่ใช้การตะยัมมุมนั้นจะเริ่มขึ้น

ฉันเรียนรู้เรื่องการละหมาด

ฉันเตรียมตัวเพื่อทำการละหมาด

  • เมื่อเข้าเวลาละหมาด ชาวมุสลิมจะชำระทำความสะอาดจากหะดัษเล็กและหะดัษใหญ่ หากอยู่ในหะดัษใหญ่

หะดัษใหญ่ คือ สิ่งทำให้มุสลิมจำเป็นต้องทำความสะอาดด้วยการอาบน้ำชำระร่างกาย

หะดัษเล็ก คือ สิ่งที่ทำให้มุสลิมจำเป็นต้องอาบน้ำละหมาด

  • มมุสลิมจะต้องทำการละหมาดด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด ในสถานที่ที่สะอาดปราศจากสิ่งสกปรก และต้องปกปิดร่างกาย (ตามที่ศาสนาได้บัญญัติไว้)
  • มุสลิมจะต้องสวมเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับทำการละหมาดและปกปิดร่างกาย และสำหรับผู้ชายไม่อนุญาตให้ทำการละหมาดที่ไม่มีการปกปิดระหว่างสะดือถึงหัวเข่า
  • สำหรับผู้หญิงจำเป็นจะต้องปกปิดทั่วร่างกาย ยกเว้นใบหน้าและฝ่ามือ
  • ในระหว่างที่ประกอบพิธีละหมาด ห้ามพูดคุย ยกเว้นคำกล่าวเฉพาะที่เจาะจงไว้สำหรับทำการละหมาดเท่านั้น ตั้งใจฟังอิหม่ามในการนำละหมาด ห้ามหันไปมาในระหว่างการละหมาด หากไม่สามารถท่องจำคำกล่าวเฉพาะเพื่อทำการละหมาดได้ ก็ให้กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮ์และสรรเสริญพระองค์จนกว่าจะเสร็จสิ้นการละหมาด และจะต้องรีบเรียนรู้การละหมาดและคำกล่าวต่างๆ สำหรับทำการละหมาด

ฉันเรียนรู้เรื่องการละหมาด

อันนียะฮ์ (การตั้งเจตนา) ด้วยหัวใจที่จะปฏิบัติศาสนบัญญัติตามที่ตั้งใจไว้

ภายหลังจากที่ฉันได้อาบน้ำละหมาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ฉันก็หันหน้าไปทางกิบลัต และฉันก็ทำการละหมาดด้วยการยืน หากมีความสามารถที่จะยืนละหมาดได้.

ฉันยกมือทั้งสองขึ้นสูงระดับไหล่ และกล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” พร้อมตั้งใจที่เริ่มเข้าการละหมาด

ฉันอ่านดุอาอ์อัลอิสติฟตาห์ ตามที่มีการรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ด้วยคำกล่าวที่ว่า:

(سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ، وَتَبَارَكَ اسْمُكَ وَتَعَالَى جَدُّكَ، وَلَا إِلَهَ غَيْرَكَ)

ความว่า (มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ โอ้อัลลอฮ์ และการสรรเสริญมีแด่พระองค์ ความประเสริฐมีในพระนามของพระองค์ เกียรติแห่งพระองค์ทรงสูงส่ง และไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์)

ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์เพื่อให้ห่างไกลจากชัยฎอนผู้ที่ถูกสาปแช่ง ด้วยการกล่าวว่า (أعوذُ باللهِ من الشيطان الرجيم) ความว่า “ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺเพื่อให้ห่างไกลจากชัยฎอนผู้ที่ถูกสาปแช่ง”

ันจะอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ทุกร็อกอะฮ์ของการละหมาด คือ: {ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ (1) มวลการสรรเสริญทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของอัลลอฮ์ ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก (2) ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ(3) ผู้ทรงอภิสิทธิ์แห่งวันตอบแทน (4) เฉพาะพระองค์เท่านั้น ที่พวกข้าพระองค์เคารพอิบาดะฮ์ และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกข้าพระองค์ขอความช่วยเหลือ (5) ขอพระองค์ทรงชี้นำพวกข้าพระองค์ ซึ่งทางอันเที่ยงตรง (6) (คือ) ทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่ทางของพวกที่ถูกกริ้ว และมิใช่ทางของพวกที่หลงผิด (7)} ฉันจะอ่านอายะฮ์อัลกุรอานตามที่สะดวก หลังจากอ่านซูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์เสร็จในร็อกอะฮ์แรกและร็อกอะฮ์ที่สองของการละหมาดทุกเวลา การปฏิบัติเช่นนี้มิใช่เป็นวาญิบ แต่การปฏิบัติเช่นนี้ได้ซึ่งผลบุญอันใหญ่หลวง

กล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” ความว่า (อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่) แล้วก็ก้มรุกูอ์ จนกระทั่งหลังตรงตั้งฉาก มือจับหัวเข่า โดยแยกนิ้วออกห่างจากกัน และกล่าวในขณะรุกูอ์ว่า “ซุบฮานะร็อบบิยัลอะศีม” ความว่า (มหาบริสุทธิ์ พระผู้อภิบาลของข้า ผู้ทรงยิ่งใหญ่).

ฉันจะเงยศรีษะขึ้นจากการรุกูอ์ พร้อมกล่าวว่า “ซะมิอัลลอฮุลิมัน หะมิดะฮ์” ความว่า (อัลลอฮ์ทรงได้ยินสำหรับผู้ที่สรรเสริญพระองค์) พร้อมกับยกมือขึ้นในระดับหัวไหล่ เมื่อร่างกายของฉันได้ยืนตรงแล้ว ฉันก็จะกล่าวว่า “ร็อบบะนา วะละกัลฮัมด์” ความว่า (โอ้พระผู้อภิบาลแห่งเรา มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิของพระองค์)

กล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” ความว่า (อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่) และลงสุญูดโดยสองมือ สองหัวเข่า สองเท้า หน้าผาก และจมูก ติดกับพื้น และกล่าวในขณะสุญูดว่า “ซุบฮานะร็อบบิยัลอะอ์ลา” ความว่า (มหาบริสุทธิ์แด่พระผู้อภิบาลของข้าผู้ทรงสูงส่ง)

ฉันจะกล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” ความว่า (อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่) ฉันจะยกศรีษะขึ้นจากสุญูด และนั่งบนเท้าซ้ายที่วางพับบนพื้น และเท้าขวายันกับพื้น และกล่าวว่า “ร็อบบิฆฟิรลี” ความว่า (โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ โปรดอภัยโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด)

ฉันจะกล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” ความว่า (อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่) และทำการสุญูดอีกครั้ง เหมือนสุญูดครั้งแรก

ฉันจะลุกขึ้นจากสุญูด พร้อมกล่าวว่า “อัลลอฮุอักบัร” ความว่า (อัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่) จนกระทั่งยืนนิ่ง และฉันจะปฏิบัติในร็อกอะฮ์ที่เหลือเหมือนกับการปฏิบัติในร็อกอะฮ์แรก

หลังจากร็อกอะฮ์ที่สองของการละหมาดซุฮริ อัศริ มัฆริบ และอิชา ฉันจะนั่งเพื่อทำการอ่านตะชะฮ์ฮุดแรก คือ: ความว่า (เกียรติทั้งมวล ความจำเริญทั้งหลาย การละหมาดทั้งหมด และความดีต่างๆ ล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์(เพียงผู้เดียวเท่านั้น) ขอความสันติ ความเมตตาและความจำเริญของพระองค์พึงมีแด่ท่านโอ้นบีมูฮัมหมัด ความสันติสุขจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมทุกคน ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าผู้สมควรแก่การเคารพสักการะอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และฉันขอปฏิญาณตนว่าท่านนบีมูฮัมหมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์) และหลังจากนั้นฉันก็จะลุกขึ้นละหมาดต่อในร็อกอะฮ์ที่สามo 

ความว่า (เกียรติทั้งมวล ความจำเริญทั้งหลาย การละหมาดทั้งหมด และความดีต่างๆ ล้วนเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮ์(เพียงผู้เดียวเท่านั้น) ขอความสันติ ความเมตตาและความจำเริญของพระองค์พึงมีแด่ท่านโอ้นบีมูฮัมหมัด ความสันติสุขจงประสบแด่พวกเราและแด่ปวงบ่าวของอัลลอฮ์ที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมทุกคน ฉันขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าผู้สมควรแก่การเคารพสักการะอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และฉันขอปฏิญาณตนว่าท่านนบีมูฮัมหมัดเป็นบ่าวและเป็นศาสนทูตของพระองค์ โอ้ อัลลอฮ์ โปรดประทานความเมตตาแก่นบีมุฮัมหมัด และแก่ครอบครัวของท่านนบีมูฮัมหมัด เฉกเช่นความเมตตาที่พระองค์ได้ให้แก่ท่านนบีอิบรอฮีมและครอบครัวของท่านนบีอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่น่าสรรเสริญ และผู้ทรงไว้ซึ่งเกียรติอันสูงส่งยิ่ง และขอพระองค์โปรดประทานความจำเริญแก่นบีมูฮัมหมัดและครอบครัวของนบีมุฮัมหมัด เฉกเช่นความจำเริญที่พระองค์ประทานแก่นบีอิบรอฮีมและครอบครัวของนบีอิบรอฮีม แท้จริงพระองค์ทรงเป็นที่น่าสรรเสริญ และผู้ทรงไว้ซึ่งเกียรติอันสูงส่งยิ่ง)

หลังจากนั้นแล้วฉันก็จะให้สลามด้วยการหันขวา พร้อมกล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะห์มะตุลลอฮ์” ความว่า (ขอความสันติและความเมตตาจากอัลลอฮ์จงมีแด่พวกท่าน) และหันซ้ายพร้อมกล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุมวะเราะห์มะตุลลอฮ์” ความว่า (ขอความสันติและความเมตตาจากอัลลอฮ์จงมีแด่พวกท่าน) โดยตั้งใจที่จะออก (สิ้นสุด) จากการละหมาด และจากกระทำนั้น จึงเป็นการเสร็จสิ้นการละหมาด.

การสวมฮิญาบของสตรีมุสลิม

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {โอ้นะบีเอ๋ย จงกล่าวแก่บรรดาภริยาของเจ้า และบุตรสาวของเจ้า และบรรดาหญิงของบรรดาผู้ศรัทธา ให้พวกนางดึงเสื้อคลุมของพวกนางลงมาปิดตัวของพวกนาง นั่นเป็นการเหมาะสมกว่าที่นางจะเป็นที่รู้จัก เพื่อที่พวกนางจะไม่ถูกรบกวน และอัลลอฮ์ทรงเป็นผู้อภัยผู้ทรงเมตตาเสมอ} [ซูเราะฮ์อัลอะห์ซาบ: 59]

ัลลอฮ์ทรงบัญญัติเหนือสตรีมุสลิมทุกคนต้องคลุมฮิญาบ ปกปิดอวัยวะพึงสงวน ปกปิดเรือนร่างทุกส่วนจากผู้ชายบุคคลภายนอกด้วยเครื่องแต่งกายที่นิยมสวมใส่ในประเทศของตน ไม่อนุญาตให้ถอดฮิญาบ ยกเว้นต่อหน้าสามีหรือมะห์รอมเท่านั้น มะห์รอม คือ บุคคลที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงดังกล่าวแต่งงานกับผู้ชายเหล่านั้นตลอดกาล (พ่อและผู้ที่เหนือกว่านั้นขึ้นไป ลูกและผู้ที่รองจากลูกลงไป น้องชายหรือพี่ชายของพ่อ น้องชายหรือพี่ชายของแม่ พี่ชายหรือน้องชาย ลูกชายของพี่ชายหรือน้องชาย ลูกชายของพี่สาวหรือน้องสาว สามีของแม่หากได้ร่วมหลับนอนกันแล้ว พ่อของสามีและผู้ที่เหนือกว่านั้นขึ้นไป ลูกของสามีและผู้ที่รองจากนั้นลงมา สามีของลูกสาว และเป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้ร่วมแม่นมเดียวกันเหมือนเป็นการต้องห้ามระหว่างสายตระกูลเดียวกัน)

สตรีมุสลิมต้องคำนึงในการแต่งตัว ดังเงื่อนไขต่อไปนี้

 

  • หนึ่งปกปิดมิดชิดทั่วเรือนร่าง
  • สองเสื้อผ้าที่สวมใส่มิใช่เพื่อประดับประดา
  • สามเสื้อผ้าที่สวมใส่ต้องไม่บางเห็นเรือนร่าง
  • สี่เสื่้อผ้าที่สวมใส่ต้องไม่รัดรูปเห็นรูปทรงของเรือนร่าง
  • ห้าต้องไม่ใช้เครื่องหอม (น้ำหอม)
  • หกการแต่งตัวต้องไม่เหมือนกับการแต่งตัวของผู้ชาย
  • เจ็ดต้องไม่สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมือนต่างศาสนิกใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาหรือวันเฉลิมฉลองของพวกเขา

 

คุณลักษณะของผู้ศรัทธา

อัลลอฮ์ตรัสว่า: {แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธานั้น คือ ผู้ที่เมื่ออัลลอฮ์ถูกกล่าวขึ้นแล้ว หัวใจของพวกเขาก็หวั่นเกรง และเมื่อบรรดาโองการของพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา โองการเหล่านั้นก็เพิ่มพูนความศรัทธาแก่พวกเขา และแด่พระเจ้าของพวกเขานั้นพวกเขามอบหมายกัน} [อัลอันฟาล: 2]

คุณลักษณะของผู้ศรัทธา

  • มีความสัจจริงในคำพูดและไม่โกหก
  • ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาและพันธสัญญา
  • ไม่ทำร้ายคู่กรณี
  • มีความซื่อสัตย์
  • ักพี่น้องมุสลิมเสมือนรักตัวเอง
  • เป็นคนใจกว้าง
  • ทำดีต่อเพื่อนมนุษย์
  • เชื่อมสายสัมพันธ์กับเครือญาติ
  • ึงพอใจในกฎกำหนดแห่งอัลลอฮ์ แสดงความขอบคุณในยามสุข และอดทนในยามทุกข์
  • มีความละอาย
  • ีความเมตตา
  • จิตใจปลอดภัยไม่อิจฉาริษยา และร่างกายปลอดภัยไม่ทำร้ายผู้อื่น
  • ให้อภัยต่อผู้คนเสมอ
  • ไม่ยุ่งกับดอกเบี้ย
  • ไม่ผิดประเวณี
  • ไม่ดื่มสุรา
  • ประพฤติดีต่อเพื่อนบ้าน
  • ไม่อธรรมและไม่คดโกง
  • ไม่ขโมยและฉ้อฉล
  • ทำดีต่อบิดามารดา แม้บิดามารดามิได้เป็นมุสลิมก็ตาม และเชื่อฟังทั้งสองในเรื่องที่ดี
  • อบรมสั่งสอนบุตรให้อยู่ในทำนองคลองธรรม สั่งใช้ให้ปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ และห้ามพวกเขาให้ห่างไกลสิ่งต้องห้ามและอบายมุข
  • อย่าไปเลียนแบบกับการกระทำของต่างศาสนิกในเรื่องของการปฏิบัติศาสนกิจหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ทางศาสนาของพวกเขา

ความสุขของฉันในศาสนาอิสลามของฉัน

อัลลอฮฺตรัสว่า: {ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ตาม โดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา ดังนั้นเราจะให้เขาดำรงชีวิตที่ดี และแน่นอนเราจะตอบแทนพวกเขาซึ่งรางวัลของพวกเขา ที่ดียิ่งกว่าที่พวกเขาได้เคยกระทำไว้} [อัน-นะห์ลุ: 97]

หนึ่งในสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้เกิดความสุข ความอิ่มเอิบ และสบายใจ คือ การที่หัวใจของมุสลิมผูกพันกับพระเจ้าของเขาโดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ยังมีชีวิต หรือ ตายไปแล้ว หรือ เจว็ด ซึ่งอัลลอฮ์ได้ตรัสในคัมภีร์อัลกุรอานไว้ว่า พระองค์อยู่ใกล้ชิดกับบ่าวของพระองค์ตลอดเวลา ได้ยินพวกเขา และตอบรับคำวิงวอนของพวกเขา ดังที่พระองค์ตรัสว่า: {(และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็ (จงตอบเถิดว่า) แท้จริงนั้นข้าอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอนเมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้นพวกเขาจงตอบรับข้าเถิด และศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง)} [อัลบะกอเราะฮฺ:186]
อัลลอฮ์ได้สั่งใช้เราให้ดุอาอ์ (ขอพร) ต่อพระองค์ และได้ทำให้การดุอาอ์นั้นเป็นการอิบาดะฮ์ (สวามิภักดิ์) ที่ดียิ่ง ที่จะทำให้มุสลิมนั้นได้ใกล้ชิดพระองค์ พระองค์ตรัสว่า: {และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า (จงวิงวอนขอต่อข้า ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า)} [ฆอฟิร: 60]
ดังนั้นการเป็นมุสลิมที่ดีนั้น เขาจะมีความต้องการต่อพระผู้อภิบาลของเขาอยู่เสมอ เขาจะขอพรวิงวอนต่อพระองค์เสมอ และเข้าใกล้พระองค์ด้วยการทำอิบาดะฮ์ที่ดี (ปฏิบัติศาสนากิจและความดีงาม)
อัลลอฮ์ได้สร้างเราขึ้นมาในจักรวาลแห่งนี้ มีวิทยปัญญาที่ยิ่งใหญ่ มิได้สร้างเราขึ้นมาด้วยความไร้สาระ นั่นคือการเคารพอิบาดะฮ์ต่อพระองค์เพียงผู้เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ และได้บัญญัติศาสนาของพระองค์แก่เราซึ่งเป็นศาสนาที่ครบวงจรเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของเราทั้งในเรื่องส่วนตัวและส่วนรวม และศาสนบัญญัติที่ยุติธรรมนี้ ได้รักษาไว้ซึ่งความจำเป็นในชีวิตมนุษย์ นั้นคือ ศาสนาของเรา ชีวิตของเรา สิทธิของเรา สติปัญญาของเรา และทรัพย์สินของเรา ผู้ใดที่ดำเนินชีวิตด้วยการปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวด้วยการห่างไกลจากสิ่งต้องห้าม เขาผู้นั้นได้รักษาไว้ซึ่งความจำเป็นในชีวิต และเขาจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ
และความสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมกับพระผู้อภิบาลของเขานั้นลุ่มลึกมาก ซึ่งก่อให้เกิดความสงบและความสบายใจ ความรู้สึกสงบ ปลอดภัย มีความสุข และรู้สึกว่าอยู่กับพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ตลอดเวลา ที่คอยให้ความช่วยเหลือปกป้องดูแลบ่าวของพระองค์ผู้ศรัทธา พระองค์ตรัสว่า: {และอัลลอฮ์นั้นคือผู้ทรงช่วยเหลือบรรดาผู้ที่ศรัทธา โดยทรงนำพวกเขาออกจากบรรดาความมืดสู่แสงสว่าง} [อัลบะกอเราะฮฺ: 257]
ความสัมพันธ์อันยิ่งใหญ่นี้ เป็นสภาวะทางอารมณ์ความรู้สึกที่นำไปสู่การมีความสุขในการประกอบอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ และมีความปรารถนาที่จะพบเจอกับพระองค์ หัวใจของเขาทะยานสู่ท้องฟ้าแห่งความสุขด้วยความรู้สึกที่สัมผัสถึงความหอมหวานแห่งการศรัทธา
ความหอมหวานดังกล่าวไม่อาจสาธยายถึงความสุขได้ยกเว้นผู้ที่ได้ลิ้มรสด้วยการจงรักภักดีต่อพระเจ้าและห่างไกลกับสิ่งต้องห้าม ท่านนบีมุฮัมหมัด -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวว่า: “ความหอมหวานแห่งการศรัทธา จะเกิดขึ้นกับผู้ที่พอใจที่อัลลอฮ์เป็นพระเจ้า อิสลามเป็นศาสนา และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูต“
ใช่แล้ว เมื่อใดที่คนหนึ่งคนใดได้รู้สึกว่าเขาอยู่ตรงหน้าผู้ทรงสร้างเขา และเขารู้จักพระองค์ผ่านพระนามของพระองค์ คุณลักษณะที่งดงามของพระองค์ เคารพอิบาดะฮ์ต่อพระองค์เสมือนเขาเห็นพระองค์ มีความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติศาสนกิจต่อพระองค์และไม่หวังจากการปฏิบัติศาสนกิจนั้นซึ่งสิ่งอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่เท่านั้น เขาผู้นั้นจะใช้ชีวิตอย่างดีและมีความสุขในโลกนี้และรับผลตอบแทนที่ดีในโลกหน้า
แม้กระทั่งอุปสรรคต่างๆที่ประสบกับผู้ศรัทธาในโลกนี้ แท้จริงความเจ็บปวดของอุปสรรคนั้น จะหายไปด้วยความมั่นใจที่หนักแน่น และความพึงพอใจในกฎกำหนดแห่งสภาวะการณ์ของอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง และสรรเสริญพระองค์ในทุกการกำหนดทั้งดีและไม่ดีด้วยความพอใจอย่างสมบูรณ์
และสิ่งที่ผู้ศรัทธาควรให้ความสำคัญเพื่อเพิ่มความสุขและความสงบสุขของเขา คือ การรำลึกถึงอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งและการอ่านอัลกุรอ่านให้มาก ดังที่พระองค์ตรัสว่า: {บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ์ พึงทราบเถิด ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ์เท่านั้น ทำให้จิตใจสงบ} [อัร-เราะอ์ดุ: 28]
ยิ่งผู้ศรัทธารำลึกถึงอัลลอฮ์และอ่านอัลกุรอานมากเท่าใด ความสัมพันธ์ของเขากับอัลลอฮ์จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และทำให้จิตใจได้รับการขัดเกลาและทำให้ความศรัทธาของเขาเข้มแข็งมากขึ้น
และผู้ศรัทธาควรมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ศาสนาจากแหล่งที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างถูกต้องชัดเจน ท่านนบีมุฮัมมัด -ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม- กล่าวไว้ว่า “การแสวงหาวิชาความรู้นั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน“
และต้องเป็นผู้ที่ยอมจำนนต่อพระบัญชาของอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงสร้าง ไม่ว่าเขาจะรู้ถึงวิทยปัญญาของพระบัญชานั้นหรือไม่ก็ตาม ซึ่งอัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ในคัมภีร์ที่ทรงเกียรติของพระองค์ไว้ว่า: {ไม่บังควรแก่ผู้ศรัทธาชายและผู้ศรัทธาหญิง เมื่ออัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์ได้กำหนดกิจการใดแล้ว สำหรับพวกเขาไม่มีทางเลือกในเรื่องของพวกเขา และผู้ใดไม่เชื่อฟังอัลลอฮ์และเราะสูลของพระองค์แล้ว แน่นอนเขาได้หลงผิดอย่างชัดแจ้ง} [อัล-อะห์ซาบ: 36]
ขออัลลอฮ์ทรงประทานการสดุดี ความศานติ และความจำเริญแด่ท่านนะบีมุฮัมหมัดของเรา แด่ครอบครัวของท่าน และมิตรสหายของท่านทั้งปวง